กว่าจะมาเป็น P-PAC

หลายคนคงยังสงสัยและตั้งคำถามในใจว่าการวิเคราะห์ด้วยลายนิ้วมือ จะเหมือนกับหมอดูลายมือหรือเปล่า ลายนิ้วมือหรือลายผิวที่นูนขึ้นมาบนฝ่ามือและฝ่าเท้าของคนเรานั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า“Dermatoglyphics” เป็นศาสตร์ที่ผ่านการค้นคว้าทางการแพทย์มากว่าร้อยปีแล้ว แม้แต่หน่วยงาน Federal Bureau of Investigation (FBI)ในสหรัฐอเมริกาก็ยังมีการศึกษาลายนิ้วกับแนวโน้มพฤติกรรมในอาชญากร จึงต่างจากวิชาโหราศาสตร์อย่างสิ้นเชิงก่อนที่ ซีพี ออลล์ จะตัดสินใจตั้ง “P-PAC” ขึ้นมานั้น เราได้ศึกษาข้อมูลกันอย่างจริงจัง ซึ่งในปัจจุบัน“Dermatoglyphics” เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาด้านการแพทย์หลายฉบับที่ยืนยันความเชื่อมโยงของลายผิวที่ฝ่ามือ กับโรคทางสมองและทางโรคพันธุกรรมได้ นอกจากนี้การใช้ลายนิ้วมือยังสามารถระบุตัวบุคคลได้ชัดเจนกว่า DNA เสียอีก เพราะคู่แฝดแท้หรือฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันจะมี DNA เหมือนกัน แต่โอกาสที่คนสองคนจะมีลายนิ้วมือทั้งสิบนิ้วเหมือนกันนั้น มีความเป็นไปได้เพียง 1 ส่วน64,000,000,000 เท่านั้นอาจารย์เหลียนเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่เริ่มศึกษาลายนิ้วมือใหม่ๆเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย จึงใช้วิธีเดียวกับสถานีตำรวจพิมพ์นิ้วทำประวัติผู้ต้องหา ใช้หมึกดำพิมพ์ทีละนิ้วจนมือลูกค้าเลอะเทอะไปหมด เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อได้ตัวอย่างมาแล้วเวลาจะแยกแยะรูปร่างของแต่ละนิ้วก็ต้องใช้แว่นขยายมาส่องดูกัน เจอลูกค้ามือใหญ่ก็ดีหน่อย เจอลูกค้าเด็กๆหรือมือเล็กๆ ก็ส่องกันจนหน้ามืดทีเดียว แต่เดี๋ยวนี้สบาย ใช้เครื่องสแกนส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ จะขยายเท่าไหร่ก็ได้ ดูง่ายดายไปหมดแต่แม้ว่าเทคโนโลยีจะสร้างความสะดวกเพียงใด หัวใจของการวิเคราะห์ก็ต้องอาศัยความชำนาญของนักวิเคราะห์อยู่ดีกระบวนการตั้งศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพนั้น Software และHardware เตรียมได้ไม่ยาก ที่ยากที่สุดเห็นจะเป็นการเตรียม Humanwareเพื่อให้ได้นักวิเคราะห์ที่มีทั้งทักษะความรู้ มีบุคลิกที่เหมาะสมและยึดมั่นในจริยธรรม ทีมงานได้ประกาศสรรหาจากบุคลากรภายใน ตอนแรกมีคนสนใจมากมายขอเข้าอบรมกว่าร้อยคน บางคนยังคิดว่าเป็นโหราศาสตร์สมัครเพราะอยากเป็นหมอดูก็มี แต่พอรู้ว่าต้องย้ายหน่วยงานทิ้งหน้าที่เดิม บางคนก็เริ่มลังเลใจ ในสุดท้ายมีผู้กล้าหาญยื่นใบสมัครมาสามสิบกว่าคนจากอาสาสมัครทั้งสามสิบคน ทีมงานได้คัดเลือกเฟ้นหาผู้ที่มีคุณสมบัติและบุคลิกเหมาะสมเพื่อเข้าสู่ด่านที่สอง ผู้ผ่านการคัดเลือกไม่ว่าเคยทำงานในหน้าที่ใดตำแหน่งไหนก็ตาม ต้องกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง เพื่อศึกษาวิชาหลักสูตรลายผิววิทยากันอย่างละเอียด เรียกว่ากว่าจะสอบผ่านด่านที่สองได้ก็เล่นเอาเหนื่อยทั้งผู้เรียนและผู้สอนสุดท้ายมาถึงด่านที่สามที่เป็นการฝึกในภาคปฏิบัติ ฝึกการเชื่อมโยงข้อมูลจากรายงานผลการวิเคราะห์ในแต่ละกรณี ที่สำคัญต้องวิเคราะห์และสอบ “Oral Exam” กับอาจารย์เหลียนแบบตัวต่อตัว เล่นเอานักเรียนเหงื่อตกไปตามๆ กัน ใครเตรียมตัวมาไม่ดีอย่าหวังอาศัยชั้นเชิงผ่านด่านอาจารย์เหลียนได้ง่าย ๆ และเมื่อผ่านด่านทดสอบต่างๆ นักเรียนทั้งหลายจึงได้เข้าสู่ขั้นแรกของนักวิเคราะห์ศักยภาพ คือเป็นนักวิเคราะห์ฝึกหัดที่ยังต้องฝึกประสบการณ์วิเคราะห์ลูกค้าจริงภายใต้การดูแลของอาจารย์ไม่ต่ำกว่า 20 รายเมื่อฝึกวิชาจนเป็นที่พอใจของอาจารย์เหลียนแล้ว ถึงจะปล่อยให้บินเดี่ยวพบลูกค้าได้ ใช้เวลาเตรียมการทั้งหมดเกือบปี จึงได้นักวิเคราะห์ประจำศูนย์ “P-PAC” รุ่นบุกเบิกจำนวน 9 คน และเริ่มเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการแก่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2552) ปัจจุบันมีลูกค้าสะสมกว่าพันราย และยังมีคิวจองยาวจนต้องเปิดให้บริการในวันเสาร์เว้นเสาร์เพิ่มอีกเดือนละสองวันและคาดว่าในอนาคตเมื่อได้นักวิเคราะห์รุ่นสองมาสนับสนุน คงต้องพิจารณาเปิดรอบเสาร์-อาทิตย์ตามคำเรียกร้องของลูกค้ากันแล้วส่วนลดพิเศษ 25 % !! เพียงลงทะเบียนผ่านลิงก์ด้านล่างได้เลยhttps://forms.gle/YawsdP5GGo58X86Q9คัดลอกมาจากหนังสือ CEO กับความรัก บทที่ 14